ข่าวประชาสัมพันธ์
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมกา

ชื่อเรื่อง               การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD 

ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น 

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม

ผู้วิจัย                     นางนิตยา   อุปชีวะ

ปีที่วิจัย                  2559

 

บทคัดย่อ

                                          

                การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD  ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการร่วมปฏิบัติกิจกรรม  ได้ฝึกทักษะจนเกิดความชำนาญ  ได้ช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  ความสำเร็จของบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD  ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75   (2)  หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD  ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  (3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/2  ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD  ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 

 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/2  โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2559  จำนวน  20  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster   Random Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  มี  4  ชนิด  คือ  1)  ชุดกิจกรรม  เรื่อง  ระบบสมการเชิงเส้น  จำนวน  7  เล่ม  2)  แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค  STAD  ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม  จำนวน  7  แผน  ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม  17  ชั่วโมง  (3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ มีค่าความยาก  (p)  ตั้งแต่  0.40  ถึง  0.73  มีค่าอำนาจจำแนก  (B)  รายข้อตั้งแต่  0.33  ถึง  0.80  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  ()  เท่ากับ  0.97  และ  (4)   แบบวัดความพึงพอใจในการเรียน  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  5  ระดับ  จำนวน  15  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ()  ตั้งแต่  0.35  ถึง  0.69  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  ()  เท่ากับ  0.91  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


Word Document ดาวน์โหลดไฟล์
โพสเมื่อ : 21 ก.พ. 2562,09:30   อ่าน 1326 ครั้ง