ชื่อเรื่อง
การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย
นางณัฐนี ศิริพร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนโนนปูนวิทยาคม
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่รายงาน
2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัด ศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการในด้านต่างๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยในส่วนด้านผลิตนั้นมีการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้านย่อย ประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และความสามารถในการขยายผลโครงการ
ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 244 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 111 คน นักเรียน จำนวน 111 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ปกครอง และสำหรับนักเรียน ซึ่งแต่ละฉบับมีรายละเอียดดังนี้ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ และฉบับที่ 3 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ ซึ่งแบบสอบถามแต่ละฉบับจะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ แบบสอบถามเป็นแบบให้เลือกตอบ (Check List) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท และแบบปลายเปิด (Open Ended)
ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ซึ่งเป็นการประเมินโครงการที่ต่อยอดจากการประเมินแบบ CIPP MODEL โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในส่วนที่เป็นการประเมินผลผลิตนั้นมีการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ตามลำดับของการดำเนินงานตามโครงการ 3 ระยะ คือ 1) การประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการทำการประเมินใน 2 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) และการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 2) การประเมินขณะดำเนินโครงการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินด้านกระบวนการ และ3) การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ (Product Evaluation) เป็นการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และความสามารถในการขยายผลโครงการ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
สรุปผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) รายละเอียดดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผน นโยบายชาติ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาชาติ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) รายละเอียดดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนประสานและแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน แหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการดำเนินโครงการและจัดกิจกรรม ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและแนวดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามโครงการ รองลงมาคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ งบประมาณที่ใช้มีความเหมาะสม คู่มือการดำเนินโครงการมีรายละเอียดชัดเจน เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ และโรงเรียนกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างชัดเจน โรงเรียนดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”อย่างต่อเนื่อง
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) รายละเอียดดังนี้
3.1 โดยภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ รองลงมาคือ กำหนดกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน และมีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
3.2 โดยภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ปกครองได้รับทราบ รองลงมาคือ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการ และผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ
3.3 โดยภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ รองลงมาคือ นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ และโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนได้รับทราบ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีการประเมินใน 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4.4 ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
4.1.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด รองลงมาคือ ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการได้ลงมือปฏิบัติ และช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการได้เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมตามความสนใจของตนเอง ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มากกว่าการเรียนรู้จากการทำแบบฝึกหัดและการท่องจำ ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4.1.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข รองลงมาคือ ได้มีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมให้แก่นักเรียน และมีโอกาสให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนานักเรียน
4.1.3 ในภาพรวม นักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ช่วยให้ข้าพเจ้าได้พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ ช่วยให้ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาในการเรียนทั้งด้านวิชาการและการปฎิบัติอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ข้าพเจ้ากล้าแสดงออกมากขึ้น ส่งเสริมให้ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)
4.2.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนมีความสามารถทางภาษา
4.2.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องานและเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
4.2.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่ 1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเกิดการพัฒนาในองค์ 4 แห่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และนักเรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง ด้านย่อยที่ 2) ผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) ในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ 8 กิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรท้องถิ่น กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมขะแมร์ “เจรียง” และกิจกรรมเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเรา รายละเอียด รายกิจกรรม ดังนี้
1) กิจกรรมเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเรา โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี
2) กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมขะแมร์ “เจรียง” โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี
3) กิจกรรมสะพานไม้ไอศกรีม โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
4) กิจกรรมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรท้องถิ่น โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ รองลงมาคือ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
5) กิจกรรมขยับกาย สบายชีวี ด้วยวิถีแดนซ์เซอร์ไซส์ สไตล์โนนปูน โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา และนักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงาน
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม รองลงมาคือ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด รองลงมาคือ นักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี และนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
6) กิจกรรมโนนปูนเบเกอรี่ โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงานรองลงมาคือ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหา
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และนักเรียนมีทักษะทางอาชีพ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ รองลงมาคือ นักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด และนักเรียนดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองอยู่เสมอและมีสุขาภิบาลที่ดี
7) กิจกรรมอนามัยวัยทีน โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ด้านจริยศึกษา (Heart) พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนมีความ เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และนักเรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ
ด้านหัตถศึกษา (Hand) พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ รองลงมาคือ นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน
ด้านพลศึกษา (Health) พบว่า นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมี เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ รองลงมาคือนักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนักเรียนผ่อนคลายจากความเครียด
8) กิจกรรมดอกไม้กระดาษกับงาน Décor โดยภาพรวมพบว่ามีผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ รายละเอียดดังนี้
ด้านพุทธิศึกษา (Head) พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต